[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

ขิงขมิ้นลือนาม สวนปาล์ม ยางพารา กุ้งหอย ปู ปลา โคกไคร เจดีย์สูงใหญ่วัดบางเหรียง
 

 

 
จากผลการประเมินสถานการณ์ของสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT Analysis) ของสถานศึกษา สถานศึกษาสามารถนำมากำหนดทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา ได้แก่ ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ และกลยุทธ์ ดังนี้
 
ทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา
 
          ปรัชญา คุณธรรม นำความรู้
 
          วิสัยทัศน์ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทับปุด จะจัดการศึกษาให้คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพได้ทุกที่ทุกเวลา อย่างทั่วถึง
และเท่าเทียมกันเพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้และการมีอาชีพอย่างยั่งยืน
 
อัตลักษณ์ 
พัฒนาตน  พัฒนางาน สร้างสรรค์สังคม
        เอกลักษณ์ 
        บริหารจัดการดี มีภาคีเครือข่าย หลากหลายกิจกรรม ภายใต้คุณธรรมนำความรู้
 
พันธกิจ
 
1.    จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ
 
2.     จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำเพื่อพัฒนาสมรรถนะของประชาชนและชุมชุนให้สามารถสร้างสรรค์และแข่งขันด้านอาชีพได้อย่างยั่งยืน
 
3.     ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำ
 
4.    พัฒนาและส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
 
5.    พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 
เป้าประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จ

 
เป้าประสงค์
 
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
 
1.     คนไทยได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุม และเป็นธรรม
 
ร้อยละประชาชนได้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
 
2.     ผู้เรียนและผู้รับบริการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อนำไปสู่ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
 
1.    ร้อยละของผู้เรียน/ผู้รับการฝึกอบรมที่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตร
 
2.    ร้อยละของผู้เรียน/ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่สามารถนำสาระการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
 
3.    ผู้เรียน ผู้รับบริการมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อให้มีความเชื่อมั่นศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีคุณธรรมจริยธรรม มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและมีภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด
 
3.     ภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมดำเนินการจัดการศึกษาตลอดชีวิตอย่างกว้างขวาง
 
1.       ร้อยละของผู้บริหารและบุคลากรของหน่วยงานสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย ที่ได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
 
2.       จำนวนภาคีเครือข่ายที่ร่วมมือกับ กศน. ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในสัดส่วน 60 : 40 (สัดส่วนความร่วมมือในการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย : กศน.)
 
4.     ชุมชนมีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
 
1.      ร้อยละของชุมชนมีการจัดการความรู้
 
2.      ร้อยละของชุมชนมีเครือข่ายแกนนำนักจัดการความรู้ของชุมชน
 
 
 
5.     แหล่งการเรียนรู้มีอยู่อย่างทั่วถึงและได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มโอกาส และช่องทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่มีคุณภาพและสนองตอบความต้องการของประชาชน

 
 
 
กลยุทธ์
 
กลยุทธ์ที่ 1 ลุยถึงที่ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง
 
กลยุทธ์ที่ 2 ตอบโจทย์ในใจผู้เรียน
 
กลยุทธ์ที่ 3 ขยายแหล่งการเรียนรู้
 
กลยุทธ์ที่ 4 ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย
 
กลยุทธ์ที่ 5 บริการเปี่ยมคุณภาพ
 
           สถานศึกษาได้ประชุมบุคลากรเพื่อร่วมกันประเมินสถานการณ์ของสถานศึกษา โดยใช้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT Analysis) ในการกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา รวมทั้งโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกสถานศึกษา อันเป็นปัจจัยต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อนำผลไปใช้ในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษาซึ่งได้ผลการประเมินสถานการณ์ของสถานศึกษา ดังนี้

 

 

 

          จุดแข็ง (สภาพแวดล้อมภายใน)

1.    บุคลากรส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ทำให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและการประสานงานที่ดี

2.    บุคลากรมีความรัก ความสามัคคีจึงได้รับความร่วมมือทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

3.    บุคลากรทุกคนไดรับการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามที่หน่วยงานต้นสังกัดจัดอย่างต่อเนื่อง

4.    บุคลากรมีมนุษยสัมพันธ์ มีความสามารถในการประสานงานกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ทำให้สามารถดำเนินงานกศน.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.    มีครูกศน.ตำบลครบทุกตำบลจึงสามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่

6.    ผู้บริหารมีความสามารถในการถ่ายทอดการสื่อสารที่ดี

7.    บุคลากรมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน

8.    คณะกรรมการสถานศึกษาให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี

9.    ภาคีเครือข่ายและชุมชนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี

จุดอ่อน (สภาพแวดล้อมภายใน)

1.    บุคลากรไม่มีความมั่นคงในอาชีพจึงทำให้ขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เช่น บรรณารักษ์ และนักการภารโรงอัตราจ้าง

2.    ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในการนิเทศ ทำให้ขาดความคล่องตัวในการนิเทศติดตาม กำกับงาน เช่น รถยนต์

3.    วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานมีอยู่อย่างจำกัดและด้อยคุณภาพ

4.    ขาดอัตรากำลังในการปฏิบัติงาน

5.    บุคลากรอัตราจ้างเปลี่ยนแปลงบ่อยทำให้ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน

6.    ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทับปุดและกศน.ตำบลส่วนใหญ่ไม่มีอาคารปฏิบัติงานเป็นของตัวเอง

7.    อาคารของ กศน.ตำบลส่วนใหญ่ไม่มีความมั่นคงแข็งแรงจึงมีปัญหาในการบริหารจัดการและจัดกิจกรรม

8.    กศน.ตำบลขาดครุภัณฑ์สำหรับใช้ในการบริหารจัดการและจัดกิจกรรม

โอกาส (สภาพแวดล้อมภายนอก)

1.    มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานระดับอำเภอและผู้นำท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

2.    ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทับปุดตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับศูนย์ราชการของอำเภอจึงส่งผลให้การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานระดับอำเภอเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว

3.    มี กศน.ตำบลตั้งอยู่ใจกลางชุมชนส่งผลให้การให้บริการเป็นไปอย่างสะดวกและทั่วถึง

4.    ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายสามารถศึกษาหาความรู้ได้

5.    ประชาชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น หน่วยงานภาคีเครือข่ายในท้องถิ่นและคณะกรรมการสถานศึกษาให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดการศึกษา

6.    ประชาชนในอำเภอทับปุดส่วนใหญ่มีอาชีพและมีรายได้ในระหว่างเรียน

อุปสรรค (สภาพแวดล้อมภายนอก)

1.    งบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานในพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง

2.    ประชาชนในอำเภอทับปุดบางส่วนมีความรู้น้อยและไม่ค่อยให้ความสำคัญในการศึกษาต่อ

3.    ได้รับการจัดสรรงบประมาณล่าช้าทำให้ไม่สามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้ต้องเร่งรัดในการจัดกิจกรรมเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพในการดำเนินงานลดลง

4.    ได้รับงบประมาณในการจัดการศึกษาด้านอาชีพน้อย ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงานให้เกิดแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.    กศน.ตำบลส่วนใหญ่ไม่มีอาคารเป็นของตัวเองจึงยากแก่การพัฒนา

6.    บุคลากรอัตราจ้างมีข้อจำกัดในการเข้ารับการพัฒนาส่งผลให้การปฏิบัติงานด้อยประสิทธิภาพ

7.    ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 

 



เข้าชม : 7642
 
 
 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอทับปุด   
 หมู่ที่ ๔   ตำบลทับปุด   อำเภอทับปุด  จังหวัดพังงา  ๘๒๑๘๐  โทร ๐๗๖ - ๔๔๒๐๓๐ โทรสาร ๐๗๖ - ๔๔๒๐๓๐
admin  chai_357@hotmail.com 
 
  
Click Here to get Free Counter
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05