สภาพทางกายภาพของชุมชน ตำบลหล่อยูง
ชื่อ : กศน.ตำบลหล่อยูง
สังกัด : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอตะกั่วทุ่ง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพังงา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติความเป็นมา
ตำบลหล่อยูง เกี่ยวกับที่มาของตำบลหล่อยูงนั้นคนเฒ่าคนแก่ พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยต้นหล่อ ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อนบางจากใบหล่อสามารถนำมารักษาโรคซางที่เกิดกับเด็กได้และสมัยก่อนบริเวณนี้มีการทำนาอย่างแพร่หลาย ซึ่งให้บังเอิญว่าต้นหล่อต้นหนึ่งยืนต้นอยู่ข้างชายนา นกยูงซึ่งลงมากินข้าวช่วงข้าวออกรวง บินขึ้นไปเกาะบนต้นหล่อ ชาวบ้านที่ทำงานอยู่แถวนั้นเห็นเข้าก็ชี้ชวนกันดูนกยูงบนต้นหล่อ เรียกไปเรียกมาเพี้ยนเป็นหล่อยูงจนถึงทุกวันนี้
กศน.ตำบลหล่อยูง ตั้งอยู่ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จัดการเรียนการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ การศึกษาในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาต่อเนื่องการศึกษาเพื่อการมีงานทำ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การศึกษาตามอัธยาศัย โดยจัดให้มีบ้านหนังสืออัจฉริยะในชุมชน การจัดตั้ง กศน.ตำบล มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้ ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับผู้สนใจและประชาชนในชุมชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
ขนาดพื้นที่ ที่ตั้งอาณาเขตติดต่อ
ตำบลหล่อยูง เป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอระยะทางห่างจากอำเภอประมาณ 20 กิโลเมตร มีหมู่บ้านทั้งหมด 10 หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่ 1 บ้านหล่อยูง
หมู่ที่ 2 บ้านบางปลา
หมู่ที่ 3 บ้านนา
หมู่ที่ 4 บ้านทองหลาง
หมู่ที่ 5 บ้านควน
หมู่ที่ 6 บ้านแหลมหิน
หมู่ที่ 7 บ้านบางจัน
หมู่ที่ 8 บ้านในหยง
หมู่ที่ 9 บ้านบากัน
หมู่ที่ 10 บ้านหล่อยูงตะวันออก
ตำบลหล่อยูง มีอาณาเขต ดังนี้ (ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา)
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ที่แนวสันเขาเทือกเขานางหงส์บริเวณพิกัดเอ็มเค 267172 ไปตามแนวสันเขาเทือกเขานางหงส์ ถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 279195 ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับตำบลนาเตยอำเภอท้ายเหมือง และไปทางทิศตะวันออกตามแนวสันเขา ถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 286195ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับตำบลกะไหล และไปทางทิศใต้ตามแนวสันเขาถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 293183 รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลท่าอยู่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ที่แนวสันเขาบริเวณพิกัดเอ็มเค 293183 ไปทางทิศใต้ตามแนวสันเขา ผ่านเขตบ้านบางยี่เสือ และตัดผ่านถนนพังงา-ภูเก็ต บริเวณพิกัดเอ็มเค 295149 แล้วตัดผ่านแนวสันเขา และผ่านบ้านนาโทงไปจนถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 294107 และไปทางทิศตะวันออกถึงแนวสันเขาบริเวณพิกัดเอ็มเค 315115 ผ่านแนวสันเขาถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 328105 ไปทางทิศใต้ ตามแนวสันเขา ตัดผ่านถนน รพช.พง หมายเลข 11014 บริเวณพิกัดเอ็มเค 332086 ไปทางทิศตะวันออกตามแนวสันเขาบางหลามถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 346088 ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับตำบลคลองเคียน ไปทางทิศใต้ตามแนวสันเขา เทือกเขาบางหลามตัดผ่านถนนสาย บ้านทองหลาง บ้านคลองใส บริเวณพิกัดเอ็มเค 333071 ไปตามแนวสันเขาถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 328000 ไปถึงร่องน้ำลึก คลองท่านุ่นเอ็มเค 331870 รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 28 กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ที่ร่องน้ำลึกคลองท่านุ่นบริเวณพิกัด เอ็มเค 331873 ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวกึ่งกลางตลอดท่านุ่นถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 298000 และไปทางทิศเหนือตามแนวกึ่งกลางคลองท่านุ่น ถึงบริเวณพิกัดเอ็มเค 249053 รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 12 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง ที่กึ่งกลางคลองท่านุ่นบริเวณพิกัดเอ็มเค 275070 และไปทางทิศเหนือตามแนวสันเขา ตัดผ่านถนนสายพังงา - ภูเก็ต บริเวณพิกัดเอ็มเค 284095 และตัดผ่านแนวสันเขาควนคาบริเวณพิกัดเอ็มเค 272156 ไปจนถึงแนวสันเขาเทือกเขานางหงส์บริเวณพิกัดเอ็มเค 267172 ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับด้านทิศเหนือ รวมระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 15 กิโลเมตร
สภาพทางสังคม
1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดนากลาง หมู่ที่ 1 บ้านหล่อยูง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทองหลาง หมู่ที่ 4 บ้านทองหลาง
2.โรงเรียนของรัฐ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนวัดนากลางมิตรภาพที่ 163
- โรงเรียนบ้านทองหลาง
- โรงเรียนบ้านควน
- โรงเรียนบ้านแหลมหิน
- โรงเรียนบ้านบางจัน
- โรงเรียนบ้านในหยง
- โรงเรียนบ้านบากัน
3.วัด จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
- วัดนากลาง (วัดหล่อยูง)
4.มัสยิด จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
-. หมู่ที่ 3 (บ้านนา)
- หมู่ที่ 4 (บ้านทองหลาง)
- หมู่ที่ 6 (บ้านแหลมหิน)
- หมู่ที่ 7 (บ้านบางจัน)
- หมู่ที่ 8 (บ้านในหยง)
- หมู่ที่ 9 (บ้านบากัน)
5.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหล่อยูง จำนวน 2 แห่งได้แก่
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพหล่อยูง หมู่ที่ 1 (บ้านหล่อยูง)
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านทองหลาง หมู่ที่ 4 (บ้านทองหลาง)
6.สภาพเศรษฐกิจ
อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง ประกอบอาชีพทางการเกษตรทำการประมงเป็นอาชีพรอง และมีการค้าขายและรับจ้างทั่วไปซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก โดยแบ่งออกได้ดังนี้
ทำสวนยางพารา ประมาณ 80 %
ทำการประมงชายฝั่งและประมงน้ำจืด ประมาณ 15 %
ค้าขายและรับจ้างทั่วไป ประมาณ 5 %
รายละเอียดพื้นที่การเกษตรและพืชเศรษฐกิจของตำบลหล่อยูง ดังนี้
พื้นที่ตำบล 59,375 ไร่ หรือ 95.00 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่การเกษตร 39,117 ไร่ หรือ 62.69 ตารางกิโลเมตร
ครัวเรือนทั้งหมด 2,025 ครัวเรือน
ครัวเรือนเกษตร 1,161 ครัวเรือน
กลุ่มสตรี 10 กลุ่ม
กลุ่มอาชีพทางการเกษตร 11 กลุ่ม
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 5 กลุ่ม
หน่วยธุรกิจในตำบลหล่อยูง
- ปั๊มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง
- ซุปเปอร์มาเก็ต จำนวน 2 แห่ง
- โรงค้าไม้ จำนวน 1 แห่ง
- โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา จำนวน 2 แห่ง
- โรงงานคอนกรีตอัดแรง จำนวน 1 แห่ง
- โรงอิฐดินเผา จำนวน 3 แห่ง
- โรงโม่หิน จำนวน 1 แห่ง
- เหมืองหินแกรนิต จำนวน 2 แห่ง
- โรงงานผลิตน้ำดื่ม / น้ำแข็งหลอด จำนวน 2 แห่ง
สภาพการคมนาคม มีถนนสายหลัก จำนวน 3 สาย คือ
ถนนเพชรเกษม ระยะทาง 2 กิโลเมตร
ถนนสายหล่อยูง - คลองเคียน ระยะทาง 16 กิโลเมตร
ถนนสายท่านุ่น - ในหยง ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร
การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง (ตัวแทน)
- สถานีโทรคมนาคมอื่นๆ 3 แห่ง
การไฟฟ้า
- ตำบลหล่อยูงมีไฟฟ้าใช้เกือบทุกครัวเรือน ยกเว้นครัวเรือนที่สร้างบ้านบนที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์
แหล่งเรียนรู้ตำบลหล่อยูง
-วัดนากลาง
Website
http://www.loryungnfe.com/