mri คือ MRI Scan (เอ็มอาร์ไอ) เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้คลื่นวิทยุร่วมกับคลื่นสนามแม่เหล็กแรงสูงในการถ่ายภาพเนื้อเยื่อ อวัยวะ และโครงสร้างอื่น ๆ ภายในร่างกาย เพื่อช่วยในการวินิจฉัย วางแผนการรักษา และติดตามผลในการรักษา
MRI Scan สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย เช่น สมองและไขสันหลัง หน้าอก กระดูกและข้อต่อ หัวใจและหลอดเลือด ตับ มดลูก ต่อมลูกหมาก หรืออวัยวะภายในอื่น ๆ โดยภาพที่ถ่ายได้จะมีความคมชัดสูง ทำให้การถ่ายภาพอวัยวะบางส่วนได้ข้อมูลในการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำกว่าวิธีอื่น เช่น เอกซเรย์ (X-ray) อัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือซีที สแกน (Computed Tomography: CT Scan)
mri scan
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ MRI Scan
MRI Scan เป็นวิธีในการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะเกือบทั่วร่างกายที่ค่อนข้างแม่นยำ และมักจะใช้ยืนยันผลวินิจฉัยหลังจากการทดสอบอื่น ๆ ให้ข้อมูลได้ไม่เพียงพอ โดยการตรวจ MRI Scan ในแต่ละส่วนในร่างกายอาจมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น
ศีรษะ เป็นการตรวจหาความผิดปกติของสมองและเส้นประสาทในสมองที่เชื่อมกับอวัยวะที่เกี่ยวข้อง เช่น เนื้องอกในสมอง เลือดออกในสมอง หลอดเลือดในสมองโป่งพอง การบาดเจ็บเส้นของประสาทเกี่ยวกับการมองเห็นและได้ยิน หน้าอก เป็นการตรวจดูความผิดปกติบริเวณหน้าอกและหัวใจ เช่น การเต้นของหัวใจ ลิ้นหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับปอด ตรวจหามะเร็งเต้านม หน้าท้องและกระดูกเชิงกราน เป็นการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะและโครงสร้างอื่น ๆ ภายในช่องท้อง ไม่ว่าจะเป็น ตับ ถุงน้ำดี ตับอ่อน ไต กระเพาะปัสสาวะ รวมไปถึงเนื้องอก ภาวะเลือดออก การติดเชื้อ และการอุดตันในอวัยวะเหล่านั้น ส่วนในผู้หญิงก็สามารถใช้ตรวจดูมดลูกและรังไข่ ในผู้ชายก็ใช้ในการตรวจดูต่อมลูกหมาก เส้นเลือด เป็นการตรวจดูเส้นเลือดและการไหลเวียนของเลือด (Magnetic Resonance Angiography: MRA) เพื่อช่วยค้นหาความผิดปกติของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ เช่น หลอดเลือดโป่งพอง การตีบแคบและการอุดตันของหลอดเลือด ภาวะเลือดเซาะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ ไขสันหลัง ตรวจเช็คหมอนกระดูกและเส้นประสาทไขสันหลังในบางสภาวะ เช่น โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ หมอนรองกระดูกเคลื่อนตัว เนื้องอกของไขสันหลัง กระดูกและข้อต่อ ตรวจดูความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกระดูกและข้อต่อ เช่น ข้ออักเสบ ความผิดปกติข้อต่อขากรรไกร ไขกระดูกสันหลังมีปัญหา เนื้องอกกระดูก กระดูกอ่อน เส้นเอ็นฉีกขาดหรือเกิดการติดเชื้อ ข้อห้ามหรือข้อจำกัดในการตรวจ MRI Scan
การตรวจ MRI Scan ต้องใช้คลื่นสนามแม่เหล็กแรงสูงในการทำงาน อุปกรณ์ที่เป็นโลหะอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและข้อจำกัดบางประการที่ส่งผลต่อการตรวจที่ผิดพลาดขึ้น จึงทำให้ผู้เข้ารับการตรวจบางกลุ่มควรแจ้งข้อมูลส่วนตัวให้แพทย์ทราบก่อน เช่น
ผู้ที่ใส่เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้ไฟฟ้าหรือทำมาจากโลหะ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ เครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือด ประสาทหูเทียม อินซูลินปั๊ม เนื่องจากสนามแม่เหล็กอาจสร้างความเสียหายหรือความผิดปกติในการทำงานของเครื่อง ผู้ที่มีการคุมกำเนิดด้วยการใส่ห่วงอนามัยที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบล่วงหน้า เพราะอาจมีผลต่อการแปลผลของภาพที่ได้ ผู้ที่ใส่รากฟันเทียมหรืออุดฟันที่วัสดุมีโลหะเป็นส่วนประกอบ ผู้ที่มีสภาพร่างกายจำกัด ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวหรืออยู่นิ่ง ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งได้ เช่น ผู้ป่วยกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน เป็นโรคกระดูกสันหลังคดและงอ รวมไปถึงผู้ที่ภาวะอ้วน ซึ่งไม่สามารถนอนลงบนเครื่องได้ การสวมใส่โลหะต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามร่างกายอย่างเครื่องประดับที่เป็นโลหะ หรือโลหะที่เป็นส่วนหนึ่งบนเสื้อผ้า เช่น ซิป อย่างไรก็ตาม ในกรณีของหญิงตั้งครรภ์ สามารถเข้ารับการตรวจ MRI Scan ได้เป็นปกติ เนื่องจากไม่มีรังสีที่เป็นอันตราย แต่มีข้อควรระวัง คือ การฉีดสารหรือสีเข้าหลอดเลือดดำร่วมกับการตรวจ MRI Scan ที่อาจส่งผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ mri คือ HonestDocs https://www.honestdocs.co/what-is-mri www.honestdocs.co
เข้าชม : 440
|