[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  
อุจจาระปนเลือด
โดย : ดร. ศิรพงศ์ รักต์เธียรธรรม   เมื่อวันที่ : อาทิตย์ ที่ 13 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560   


อุจจาระปนเลือด

ปวดประจำเดือน, ปวดท้องประจำเดือน, เจ็บท้องประจำเดือน หรือ ปวดท้องเมนส์ (Dysmenorrhea) คือ อาการปวดท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกรานในขณะที่มีประจำเดือน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอตามรอบของการมีประจำเดือน (โดยปกติจะห่างกันทุก 28 วัน แต่บางคนก็มาเร็วหรือช้ากว่านี้) การปวดประจำเดือนนี้ส่วนใหญ่พบได้ในผู้หญิงวัยมีประจำเดือน ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดไม่มากและยังสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่มีส่วนน้อยที่อาจปวดรุนแรงจนต้องพักงาน โดยอาการปวดประจำเดือนนั้นแบ่งออกได้เป็น ชนิดปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) ซึ่งพบได้เป็นส่วนมาก กับชนิดทุติยภูมิ (มีสาเหตุ) ซึ่งพบได้เป็นส่วนน้อย

ในช่วงหนึ่งของชีวิตผู้หญิงที่มีประจำเดือน มีผู้หญิงจำนวนน้อยมากที่ไม่มีอาการปวดประจำเดือนเลยซึ่งนับว่าเป็นโชคดีมาก เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่โดยเฉพาะวัยรุ่นจำนวนมากถึง 90% จะมีอาการปวดประจำเดือนมากบ้างน้อยบ้างสลับกันไป และมีผู้หญิงอีกประมาณ 5-10% ที่จะมีอาการปวดประจำเดือนมากจนทำให้ต้องพักงานหรือขาดเรียนอยู่เสมอในช่วงที่มีประจำเดือน ทำให้เสียโอกาสในการทำงานและการเรียนรู้ และยังอาจมีผลกระทบต่อจิตใจหรือความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวซึ่งประเมินเป็นมูลค่าทางการเงินไม่ได้อีกด้วย

จากการศึกษาพบว่า อายุเฉลี่ยของการมีประจำเดือนครั้งแรกของเด็กผู้หญิงไทยจะอยู่ที่ประมาณ 12 ปี 7 เดือน เด็กผู้หญิงทางภาคเหนือจะมีอายุเฉลี่ยของการมีประจำเดือนเร็วกว่าภาคอื่น ๆ ส่วนเด็กทางภาคใต้จะมีอายุเฉลี่ยของการมีประจำเดือนช้ากว่าภาคอื่น ๆ โดยช่วง 1-2 ปีแรกที่เริ่มมีประจำเดือน จะมาแบบไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากการทำงานของรังไข่ยังไม่ค่อยสมบูรณ์ จึงทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ

สาเหตุการปวดท้องประจําเดือน
เมื่อมีอาการปวดประจำเดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นอาการปกติของการมีประจำเดือน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นความจริงและก็มีที่ไม่จริงบ้าง โดยทั่วไปอาการปวดประจำเดือนจะเกิดจากมดลูกหดรัดตัวทำให้เกิดอาการปวดบริเวณท้องน้อย แต่หากมีอาการปวดมากจนมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือทำให้ต้องพักงาน แบบนี้ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป เพราะสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือนนั้นมีหลายสาเหตุ ซึ่งการรักษาบางครั้งอาจต้องถึงขั้นผ่าตัดเลยทีเดียว

สาเหตุของการปวดประจำเดือนจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

ปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea) เป็นการปวดประจำเดือนที่แพทย์ตรวจไม่พบพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกรานหรือท้องน้อยที่ชัดเจน โดยจะไม่มีความผิดปกติของมดลูกและรังไข่แต่อย่างใด ในปัจจุบันเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างการมีประจำเดือน และมาจากการมีสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) หลั่งออกมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกมากผิดปกติ และสารชนิดนี้จะดูดซึมผ่านกระแสเลือดและมาออกฤทธิ์ที่มดลูก จึงทำให้มดลูกมีการบีบเกร็งตัวและเกิดอาการปวดที่บริเวณท้องน้อย การปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมินี้มักพบได้ในเด็กสาวหรือผู้หญิงวัยรุ่น ส่วนมากจะเริ่มมีอาการตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก หรือไม่ก็เกิดขึ้นภายในช่วง 2-3 ปีหลังจากการมีประจำเดือนครั้งแรก โดยจะมีอาการมากที่สุดในช่วงอายุ 15-25 ปี หลังจากวัยนี้ไปอาการจะค่อย ๆ ลดลง บางรายอาจหายปวดหลังแต่งงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการมีลูกแล้ว มีเพียงส่วนน้อยที่ยังอาจมีอาการตลอดไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน
ปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ (Secondary dysmenorrhea) เป็นการปวดประจำเดือนที่แพทย์ตรวจพบพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกรานร่วมด้วย ลักษณะการปวดจะมีอาการปวดก่อนมีเลือดประจำเดือนมาและยังปวดต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าประจำเดือนจะหยุดหรือหลังประจำเดือนหยุด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดครั้งแรกเมื่อมีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป โดยก่อนหน้านี้จะไม่เคยมีอาการปวดประจำเดือนเลย การปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมินี้ มักเกิดจากความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่ เช่น
การมีเนื้องอกมดลูก โดยเฉพาะในโพรงมดลูก มดลูกจึงมีการบีบตัวเพื่อขจัดสิ่งขัดขวางการหดรัดตัวในโพรงมดลูกออก จึงทำให้มีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อย ๆ
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่ หรือ เยื่อบุโพรงมดลูกต่างที่ (Endometriosis) โดยเยื่อโพรงบุมดลูกจะหลุดออกมาจากท่อรังไข่ย้อนเข้ามาเจริญที่เยื่อบุช่องท้อง รังไข่ บริเวณอุ้งเชิงกราน หรือลำไส้ ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนในร่างกายที่หลั่งออกมาจากรังไข่เช่นเดียวกับเยื่อบุโพรงมดลูก ดังนั้นในขณะที่มีประจำเดือนจะทำให้มีเลือดออกในช่องท้องด้วย จึงทำให้เกิดการระคายเคืองที่เยื่อบุช่องท้อง ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องในขณะที่มีประจำเดือน ซึ่งในรายที่มีอาการปวดประจำเดือนรุนแรงเป็นประจำ มักมาจากสาเหตุนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีบุตรยาก
การมีพังผืดในช่องท้อง (Pelvic adhesion) พังผืดเกิดจากการผ่าตัดครั้งก่อน หรือจากการที่เคยมีการอักเสบในอุ้งเชิงกรานมาก่อน (ที่ไม่ใช่จากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่) จะทำให้เกิดการดึงรั้งของพังผืดกับเยื่อบุช่องท้องหรือเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดอาการปวดขึ้นมา ส่วนมากผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังมากกว่าที่จะปวดตามรอบของประจำเดือน
การใส่ห่วงอนามัย หรือ ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine device birth control) จะทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือนได้เช่นกัน เนื่องจากร่างกายพยายามบีบตัวเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นออกไป
อุจจาระปนเลือด
HonestDocs
https://www.honestdocs.co/stool-blood-signal

www.honestdocs.co


เข้าชม : 362





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกะปง
 หมู่ที่ 2 ตำบลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา 82170 โทร 076-499433 โทรสาร 076-499433
E-mail : nfekapong@hotmail.com
FB : www.facebook.com/nfekpong

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05